ใบงานที่ 3 เรื่อง Power Supply
ใบงานที่ 3
Power Supply
พาวเวอร์ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ
(AC) ตามบ้านจาก 220
โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุดคือ 3.3 และ 5 โวลต์
เพื่อจ่ายไฟให้กับวงจรชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ 12 โวลต์
เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงพัดลมระบายอากาศด้วย
ปัจจุบันเพาเวอร์ซัพพลายที่จะนำมาใช้ควรมีกำลังไฟตั้งแต่ 400
วัตต์ขึ้นไป
ทั้งนี้ก็เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง
สำหรับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้าน (ประเทศไทย) โดยทั่วไปจะอยู่ที่
200-250 VAC พร้อมกระแสไฟประมาณ 3.0-6.0 A และความถี่ที่ 50Hz
ดังนั้นเพื่อให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้
เพาเวอซัพพลายจะต้องแปลงแรงดันไฟ AC ให้เป็น DC แรงดันต่ำในระดับต่างๆ
รวมถึงปริมาณความต้องการของกระแสไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆด้วย
โดยระดับของแรงดันไฟ (DC Output)
ที่ถูกจ่ายออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายแต่ละรุ่น/ยี่ห้อจะใกล้เคียงกัน
แต่ปริมารสูงสุดของกระแสไฟ (Max Current Output)
ที่ถูกจ่ายออกมานั้นอาจไม่เท่ากัน (แล้วแต่รุ่น/ยี่ห้อ)
ซึ้งมีผลต่อการนำไปคำนวลค่าไฟโดยรวม (Total Power)
ที่เพาเวอร์ซัพพลายตัวนั้น จะสามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆได้ด้วย
ประเภทของพาวเวอร์ซัพพลาย
1.ประเภท AT
AT เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้กันในประมาณ พ.ศ. 2539 โดยปุ่มเปิด - ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ
2.ประเภท ATX
ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาจาก AT
โดยเปลี่ยนปุ่มปิด - เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน
เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่องทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง
สัญญาณต่างๆของเพาเวอร์ซับพลาย
"Power Good"คือ
สัญญาณบอกว่ามีไฟเลี้ยง โดยทันทีที่เราจ่ายไฟให้กับเพาเวอร์ซัพพลาย
เช่นด้วยการเปิดสวิทซ์เครื่อง
เมนบอร์ดจะยังไม่เริ่มทำงานจนกว่าเพาเวอร์ซัพพลายส่งสัญญาณ Power
Good นี้ออกมา
ก็คือรอจนกว่าเพาเวอร์ซัพพลายจะตรวจสอบเสร็จว่าไฟเลี้ยงต่าง ๆ
ที่จ่ายออกมาอยู่ในระดับที่ต้องการและคงที่แล้ว
ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาประมาณครึ่งวินาที
เวลาเพียงเท่านี้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถทำงานได้นับล้านคำสั่ง
จึงต้องใช้สัญญาณนี้หยุดไว้ยังไม่ให้เริ่มทำงานจนกว่าแรงดันไฟฟ้าจะสมบูรณ์นั่นเอง
บางครั้งจะเรียกสัญญาณนี้ว่า Power OK หรือOK
สัญญาณ Power Good นี้มีมาตั้งแต่เพาเวอร์ซัพพลายตัวแรกของเครื่องพีซี มีลักษณะเป็นแรงดันไฟ +5 โวลต์ ซึ่งเพาเวอร์ซัพพลายราคาถูก ๆ บางตัวอาจจะไม่มีวงจรอะไรพิเศษ
สัญญาณ Power Good นี้มีมาตั้งแต่เพาเวอร์ซัพพลายตัวแรกของเครื่องพีซี มีลักษณะเป็นแรงดันไฟ +5 โวลต์ ซึ่งเพาเวอร์ซัพพลายราคาถูก ๆ บางตัวอาจจะไม่มีวงจรอะไรพิเศษ
"Soft Power"เครื่องพีซีสมัยก่อนและที่ปัจจุบันเรียกว่า
แบบ AT
จะมีสวิทซ์เปิดปิดวงจรไฟฟ้าที่จ่ายเข้าไปให้กับเพาเวอร์ซัพพลายโดยตรงเหมือนสวิทซ์ปิดเปิดไฟตามบ้านทั่วไป
แต่ในยุคของเครื่องแบบ ATX ซึ่งรวมไปถึง NLX , SFX และ WTX
ได้เปลี่ยนวิธีการปิดเปิดเครื่องไปเป็นการใช้สัญญาณบอกให้เพาเวอร์ซัพพลายเปิดหรือปิดเครื่อง
"Power on"สัญญาณที่ใช้เปิดปิดเครื่องนี้เรียกว่า
Power on หรือ PS on
ซึ่งจะเป็นไปได้ก็คือจะต้องมีไฟเลี้ยงเครื่องอยู่เล็กน้อยตลอดเวลา
เหมือนกับที่คุณเห็นทีวีมีไฟเรืองแสงอยู่ ไฟเลี้ยงนี้เรียกว่า +5V Stand by
หรือ +5V SB ซึ่งเป็นไฟ +5
โวลต์ที่จ่ายออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายอยู่ตลอดเวลาแม้ว่าจะสั่งปิดไปแล้วก็ตาม
นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาแล้ว
เพาเวอร์ซัพพลายบางตัวยังอาจจะมีสัญญาณอื่น ๆ
ซึ่งได้กำหนดไว้ในมาตรฐานแล้ว่าไม่จำเป็น คือ อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ เช่น
+3.3V SB (Stand by)ในเพาเวอร์ซัพพลายแบบ ATX , สัญญาณ Fan ON/OFF
ในเพาเวอร์ซัพพลายแบบ SFX และสัญญาณอื่น ๆ ในเพาเวอร์ซัพพลายแบบ ATX และ
NLX ดังนี้
"+3.3V Sense"
เป็นตัวบอกกับเมนบอร์ดว่าไฟเลี้ยง +3
นั้นอยู่ในสถานะที่ดีหรือไม่เพื่อแสดงสถานะของไฟเลี้ยง +3.3V
ซึ่งถือได้ว่าสำคัญมากเนื่องจากใช้เลี้ยงซีพียูและ RAM นั่นเอง โดยไฟ +3.3V
อาจจะตกโดยที่ไฟอื่น ๆยังดีอยู่ก็เป็นได้
"Fan C"
เป็นสัญญาณควบคุมพัดลม
เพื่อให้ความเร็วพัดลมของเพาเวอร์ซัพพลายเปลี่ยนแปลงหรือหยุดไปได้ เช่น
เมื่อเครื่องเข้าสู่ Stand by mode
ก็สั่งหยุดพัดลมของเพาเวอร์ซัพพลายด้วยการส่งสัญญาณที่ต่ำกว่า 1 โวลต์ไป
"Fan M" ใช้คู่กับ Fan C
เป็นสัญญาณ monitor
เพื่อตรวจสอบว่าขณะนี้พัดลมของเพาเวอร์ซัพพลายหมุนด้วยความเร็วเป็นอย่างไร
เพื่อจะเตือนหรือหยุดการทำงานของซีพียูถ้าพัดลมทำงานผิดปกติ
เพื่อป้องกันความเสียหายเมื่อระบบระบายความร้อนมีปัญหา
*นอกจากนี้ในเพาเวอร์ซัพพลายแบบของเมนบอร์ด ATX ยังเพิ่มสัญญาณต่อไปนี้อีกด้วย
"Sleep" สั่งให้เพาเวอร์ซัพพลายเข้าสู่ Sleep mode
"+3.3V" AUX เป็นไฟ + 3.3V Stand by เหมือนกับของ +5V
"+5V Sense" ใช้บอกสถานะของไฟ +5V เหมือนกับของ +3.3V
"+3.3V" AUX เป็นไฟ + 3.3V Stand by เหมือนกับของ +5V
"+5V Sense" ใช้บอกสถานะของไฟ +5V เหมือนกับของ +3.3V
การเลือกซื้อ Power Supply
1.เลือกแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง
ผู้ผลิตที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่ จะใช้วัสดุคุณภาพดีและมีความประณีต
ส่งผลต่อความปลอดภัยและความทนทานในการใช้งานที่นานขึ้น
ผู้ใช้อาจเลือกตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์หรือร้านค้าที่จำหน่าย
นอกจากนี้อาจเข้าไปสอบถามหรือหาข้อมูลจากผู้ใช้เว็บไซต์ทดสอบ
เว็บบอร์ดต่างๆอีกครั้งเพื่อความมั่นใจ
2.เลือกกำลังไฟที่เพียงพอต่อคอมพิวเตอร์
ดูจากฉลากด้านข้างตัวอุปกรณ์ซึ่ง
PSU รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะระบุมาอย่างชัดเจน
ด้วยกำลังไฟที่จ่ายได้ต่ำสุด-สูงสุด
รวมถึงไฟเลี้ยงและค่าต้านทานที่เหมาะสมโดยที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ
350-500 วัตต์ แต่ถ้าเป็นกลุ่มเกมเมอร์ก็จะสูงขึ้นไปอีกด้วยคือ 500-750
วัตต์ ยิ่งถ้าเป็นเกมการ์ดแบบคู่ไม่ว่าจะเป็น SLI หรือ CrossFire
ซึ่งการ์ดแต่ละตัวต้องใช้ไฟเลี้ยงเพิ่มเติมด้วยแล้ว อาจต้องก้าวไปถึง 700
วัตต์ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ต่อพ่วงภายในด้วยเช่นกัน
3.คอนเน็กเตอร์สำหรับต่ออุปกรณ์ภายใน
ในเรื่องของคอนเน็กเตอร์ก็สำคัญเช่นกัน
ควรเลือก PSU ที่มีหัวจ่ายไฟให้เพียงพอกับการใช้งานของคุณ
ไม่ว่าจะเป็นคอนเน็กเตอร์ 20-pins หรือ 24-pinsสำหรับเพาเวอร์
หรืออย่างน้อยควรมีหัวแปลงมาให้ Molex 4-pins(12V)
ที่ใช้เพิ่มในกรณีของเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆรวมถึงถ้ามี 6-pins
สำหรับกราฟิกการ์ดที่ต้องใช้พลังงานเพิ่มก็ตาม
นอกจากนี้ยังมีสายเพาเวอร์สำหรับฮาร์ดดิสก์ในแบบ SATA มาด้วยเช่นกัน
ดูง่ายๆก็คือ ควรจะต้องมีในส่วนที่เป็น Form Factor มาครบถ้วน
3.การตรวจเช็คอาการเสียของเพาเวอร์ซัพพลาย
Power Supply ที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน
จะเป็นสาเหตุให้อุปกรณ์อื่นๆในคอมพิวเตอร์เสียหายได้ โดยเฉพาะ Harddisk
ดังนั้นการหมั่นตรวจสอบสภาพของ Power Supply อยู่เสมอ
ถ้าพบว่าเสียหายควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนตัวใหม่ ก่อนที่จะสายเกินไป
Power Supply มี 2 แบบ
แบบที่ 1. แบบ Linear มีหม้อแปลงใหญ่ขนาดใหญ่ ตัดวงจรโดย Fuse
แบบที่ 2. แบบ Switching มี Transistor ทำหน้าที่ตัดวงจร
2.1 แบบ XT มีขนาดใหญ่ มีหัวเดียว 12 เส้น มี Switch ปิด-เปิดอยู่ด้านหลัง Power Supply
2.2 แบบ AT เล็กกว่า XT มีหัวเสียบ 2 หัว คือ P8 , P9 มีสวิทช์ปิด-เปิดโยงจาก Power Supply มายังหน้า Case
2.3 แบบ ATX มีหัวเสียบเดียว 20 เส้น ไม่มี Switch ปิด-เปิด เมื่อสั่ง Shut Down จาก Program เครื่องจะปิดเองโดยอัติโนมัติ
* ถ้าต้องการตรวจสอบการใช้งานในขณะที่ไม่ได้ต่อกับ Mainboard ให้ Jump สายสีเทา
(หรือสีเขียว) กับสีดำ พัดลมของ Power Supply จะหมุน แสดงว่าใช้งานได้แบบที่ 1. แบบ Linear มีหม้อแปลงใหญ่ขนาดใหญ่ ตัดวงจรโดย Fuse
แบบที่ 2. แบบ Switching มี Transistor ทำหน้าที่ตัดวงจร
2.1 แบบ XT มีขนาดใหญ่ มีหัวเดียว 12 เส้น มี Switch ปิด-เปิดอยู่ด้านหลัง Power Supply
2.2 แบบ AT เล็กกว่า XT มีหัวเสียบ 2 หัว คือ P8 , P9 มีสวิทช์ปิด-เปิดโยงจาก Power Supply มายังหน้า Case
2.3 แบบ ATX มีหัวเสียบเดียว 20 เส้น ไม่มี Switch ปิด-เปิด เมื่อสั่ง Shut Down จาก Program เครื่องจะปิดเองโดยอัติโนมัติ
การใช้มิเตอร์วัดไฟ Power Supply
ดำ + ดำ = 0 V
ดำ + แดง = 5 V
ดำ + ขาว = -5 V
ดำ + น้ำเงิน = -12 V
ดำ + ส้ม = 5 V
ดำ + เหลือง = 3.3 V
ดำ + น้ำตาล = 12 V
* เข็มมิเตอร์ตีกลับ ให้กลับสาย ใช้ค่า ติด -
*AC=220 V (L กับ N)
L1 380 Vac
L2 380 Vac
L3 380 Vac
N Nutron , G ไม่มีไฟ
*230W (23A) - 300W (30A)
โดย W=V*I
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://hospital.moph.go.th/phetchabun/siam/web_final/veb1/main2.html
http://www.zabzaa.com/hardware/atx_con.htm
https://th.wikipedia.org/wiki/ATX#EE-ATX
https://plugloadsolutions.com/80PlusPowerSupplies.aspx
http://hospital.moph.go.th/phetchabun/siam/web_final/veb1/main2.html
http://www.zabzaa.com/hardware/atx_con.htm
https://th.wikipedia.org/wiki/ATX#EE-ATX
https://plugloadsolutions.com/80PlusPowerSupplies.aspx
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น