ใบงานที่ 7 เรื่อง มาตรฐานระบบเสียงของคอมพิวเตอร์ และ การจัดวางลำโพง

ใบงานที่ 7 

ระบบเสียงของคอมพิวเตอร์ และ การจัดวางลำโพง

 
 
การ์ดเสียง
คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลที่เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับเสียงต่าง ๆ แปลงเป็นสัญญาณเสียงในรูปแบบสัญญาณทางไฟฟ้า
 


เสียงเป็นส่วนสำคัญของระบบมัลติมีเดียไม่น้อยกว่าภาพ ดังนั้นการ์ดเสียงจึงเป็นอุปกรณ์ จำเป็นที่สำคัญของระบบ คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย การ์ดเสียงได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างรวดเร็วเพื่อ ให้ได้ประสิทธิภาพของเสียงและความผิดเพี้ยน น้อยที่สุด ตลอดจนระบบเสียง 3 มิติในปัจจุบัน ความชัดเจน ของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่าง และ ความแม่นยำ ของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนด[2] โดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความ ละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณ ค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูก กำหนด โดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น - A/D Converter 8 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ - A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียง ที่ได้รับดีขึ้นนั่นเอง แต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย
 
ส่วนประกอบของการ์ดเสียง
 A*อินเตอร์เฟส เป็นส่วนที่เชื่อมต่อเข้ากับสล็อตบนเมนบอร์ด ปัจจุบันซาวด์การ์ดแทบทุกรุ่นจะใช้อินเตอร์เฟสที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบบัสแบบ PCI แทบทั้งสิ้น
          B*Synthesizer เป็นชิปตัวประมวลผลหลักที่ทำหน้าที่สร้างหรือสังเคราะห์สัญญาณเสียงขึ้นมาตามคำสั่งที่ได้รับ โดยใช้การสังเคราะห์แบบ FM หรือแบบ Wavetable
          C*Digital I/O Connector เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อกับการ์ด Digital I/O
          D*AUX Connector เป็นช่างที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์จำพวกการ์ด TV Tuner หรือ MPEG2 Decoder เป็นต้น
 
E*Telephone Answering Device Connector เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ Voice Modem เพื่อรับส่งและส่งสัญญาณเสียงกับโมเด็ม
         F*Analog/Digital Out jack เป็นช่องที่ใช่เชื่อมต่อเข้ากับลำโพง Center และ Sub-woofer หรือใช้สัญญาณเสียงไปยังอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยระบบดิจิตอล
        G*Line In jack เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกเเพื่อรับสัญญารเสียงเข้าสู้การ์ด เช่น เครื่องเล่นเทป และเครื่องเล่นมินิดิสก์ เป็นต้น
        H*Microphone In jack เป็นช่องที่ใช้เสียบเข้ากับอุปกรณ์จำพวกไมโครโฟน เพื่อใช้ในการบันทึกเสียงหรือแปลงสัญาณเสียงไปเป็นไฟฟ้า (ลนาล็อก-สเตอริโอ)
        I*Line Out jack เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับชุดลำโพงแบบ 5.1 Channel โดยใช้เชื่อมต่อเข้ากับลำโพงคู่หลัง (ซ้าย-ขวา)
       K*MID/Joystick Connector เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ MIDI หรืออุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการเล่นเกมเช่น Joystick และบังคับพวกพวงมาลัย เป็นต้น
 
รูปแบบของการ์ดเสียงโดยทั่วไปที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ มี 2 แบบคือ    1.แบบออนบอร์ด(Sound On Board) เป็นระบบเสียงตามมาตรฐาน AC'97 หรือ IntelHigh Definition Audio ที่อยู่ในรูปแบบของชิปเสียง ซึ้งถูกติดตั้งไว้บนเมนบอร์ดเพื่อให้พร้อมสำหรับการใช้งาน โดยไม่จำเป็นต้องหาการ์ดเสียงมาใส่ 
2.แบบตัวการ์ด(Sound Card) เป็นระบบเสียงที่คุณภาพเสียงดีกว่าแบบออนบอร์ด แต่จะต้องซื้อหามาใช้เอง โดยมากใช้เสียบลงในช่องสล็อตแบบ PCI บนเมนบอร์ด มาตรฐาน AC'97 Intel High Definition Audio

 
ระบบมาตรฐาน AC'97 (Audio Codec '97)
 


AC'97 (Audio Codec '97) เป็ฯมาตรฐานด้านระบบเสียงของซีพียูที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยอินเทลในปี 1997 ส่วน Intel High Definition Audio (HD Audio) นั้น เป็นมาตรฐานใหม่ที่ถูกพฒนาขึ้นมาในปี 2004 ซึ้งให้คุณภาพของเสียงระดับ High Definition ในระบบ 5.1-7.1 Channel และได้รวมเอาความสามารถในการถอดรหัสเสียงรอบทิศทางในระบบ Dolby Digital เข้าไว้ในตัวด้วย โดย HD Audio ที่กล่าวถึงนี้จะมาพร้อมกับชิปเซ็ตในตระกูล i9xx Express ต่างของอินเทล
AC'97 ตัวแปลงสัญญาณเสียง '97 เป็นเสียง ตัวแปลงสัญญาณมาตรฐานที่พัฒนาโดยสถาปัตยกรรม Intel Labsในปี 1997 มาตรฐานที่ใช้ในมาเธอร์บอร์ด , โมเด็มและการ์ดเสียง
ข้อกำหนดนี้ครอบคลุมส่วนประกอบสองประเภทและส่วนเชื่อมต่อแบบ "AC-link" ระหว่างอุปกรณ์เหล่านี้
1.ตัวควบคุมดิจิทัล AC97 (DC97) ซึ่งอยู่ภายในsouthbridgeของchipset 
2.ตัวแปลงสัญญาณเสียงและโมเด็ม AC'97 จากผู้ขายหลายรายซึ่งมีส่วนประกอบอะนาล็อกของสถาปัตยกรรม
AC'97 กำหนดสถาปัตยกรรมเสียงที่มีคุณภาพสูง 16 หรือ 20 บิตพร้อมด้วยระบบเสียงรอบทิศทาง 5.1สำหรับเครื่องพีซี AC'97 สนับสนุนอัตราการสุ่มตัวอย่าง 96 kHz ที่ความละเอียดสเตอริโอ 20 บิตและอัตราการสุ่มตัวอย่าง 48 kHz ที่ความละเอียดสเตอริโอ 20 บิตสำหรับการบันทึกและเล่นหลายช่อง
ระบบเสียงแบบผสมผสานใช้กับ Codec AC'97 บนเมนบอร์ด , การ์ดเครือข่ายการติดต่อสื่อสารและเครือข่าย Risation (CNR) หรือการ์ดเสียง / พอร์ทเมอร์ไรเซอร์ (AMR)
ในปี 2547 อินเทลเปิดตัวเสียงความละเอียดสูงของ Intel (HD Audio) ซึ่งเป็นตัวตายตัวแทนที่ไม่สามารถใช้ร่วมกับ AC'97 ได้ HD Audio มีความสามารถในการกำหนดช่องสัญญาณเอาต์พุตได้มากถึง 15 ช่อง แต่ในทางปฏิบัติเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะมีช่องไม่เกิน 8 ช่อง ( ระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 )
 
ระบบ Intel High Definition HD
Intel High Definition HD เป็นข้อกำหนดสำหรับเสียงระบบย่อยของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้รับการปล่อยตัวโดยอินเทลในปี 2547 ในฐานะเครื่องสือของมาตรฐานเครื่องเสียงคอมพิวเตอร์AC'97
คุณสมบัติ
   
1.อินพุตได้สูงสุด 15 อินพุทและ 15 เอาท์พุท
    2.สูงสุด 16 ช่องเสียงPCMต่อสตรีม
    3.ตัวอย่างความละเอียดของ 8-32 บิต
    4.อัตราตัวอย่างของ 6-192 kHz
    5.สนับสนุนตัวแปลงสัญญาณเสียง(เช่นADC,DAC),ตัวแปลงสัญญาณโมเด็มและตัวแปลง
6.สัญญาณที่ผู้ให้บริการกำหนด
    7.สถาปัตยกรรมตัวแปลงสัญญาณที่ตรวจพบได้
    8.การควบคุมพลังงาน codec แบบละเอียดละเอียด
    9.ตรวจจับการรับสัญญาณเสียงการตรวจจับและการเก็บข้อมูลเสียง
 
อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2551 ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เสียงส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ข้อกำหนดแบบสมบูรณ์โดยเฉพาะความละเอียดในการสุ่มตัวอย่าง 32 บิต 
การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ 
ไมโครซอฟท์ Windows XP SP3 และต่อมารุ่น Windows รวมถึงสถาปัตยกรรมของ Universal Audioโปรแกรมควบคุมคลาส (UAA) ซึ่งรองรับอุปกรณ์เสียงที่สร้างขึ้นเพื่อเปค HD Audio มีโปรแกรมควบคุม UAA สำหรับWindows 2000และ Windows XP SP2 ด้วย macOSได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากไดรเวอร์ AppleHDA ลินุกซ์ยังสนับสนุน HD ควบคุมเสียงเช่นเดียวกับOpenSolaris,FreeBSD,NetBSDและOpenBSDระบบปฏิบัติการ
ตัวควบคุมโฮสต์
เช่นเดียวกับ AC'97 HD Audio คือข้อกำหนดที่กำหนดสถาปัตยกรรมรูปแบบเฟรมลิงค์และอินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมที่ใช้โดยคอนโทรลเลอร์บนบัส PCIและด้วยตัวแปลงสัญญาณที่อยู่อีกด้านหนึ่งของลิงค์ การใช้งานของตัวควบคุมโฮสต์ที่มีอยู่อย่างน้อยจากIntel,Nvidiaและเอเอ็มดี แปลงสัญญาณที่สามารถใช้กับตัวควบคุมดังกล่าวได้จากหลาย บริษัท รวมถึงRealtek,Conexant (ซึ่งซื้ออุปกรณ์ Analog Devicesของ SoundMAX),Integrated Device Technology (IDT) (จากSigmaTel )VIA
ช่องต่อด้านหน้า
เมนบอร์ดคอมพิวเตอร์มักมีตัวเชื่อมต่อเพื่อนำสัญญาณไมโครโฟนและหูฟังไปยังแผงด้านหน้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ Intel ระบุข้อกำหนดสำหรับส่วนหัวนั้น แต่การกำหนดสัญญาณจะแตกต่างกันสำหรับส่วนหัวของ AC'97 และ HD Audio 
 
การกำหนดพินสำหรับขั้วต่อ AC'97 และ HD Audio คือ:


AC'97HD Audio (HDA)
สัญญาณลักษณะสัญญาณลักษณะ
1MIC
  • เสียง, ขาวดำ, ใน (ระดับไมโครโฟน)
  • เสียงซ้ายใน (ลำเอียง mic.level)
PORT 1Lเสียงซ้ายพอร์ต 1
2AUD_GNDพื้นGNDพื้น
3MIC BIAS
  • ความลำเอียงของไมโครโฟน
  • เสียงขวาใน (ลำเอียงระดับไมโครโฟน)
PORT 1Rเสียงขวาพอร์ต 1
4AUD_GNDพื้นต่อหน้า #การตรวจจับ dongle / connector HDA ต่ำสุดที่ใช้งาน
5FP_OUT_Rเสียงออกขวา, ออก (ระดับหูฟังระดับความสามารถ), แผงด้านหน้าPORT 2Rเสียง, ด้านขวา, พอร์ต 2
6FP_RETURN_Rเสียงขวากลับ (เมื่อแจ็คไม่เชื่อมต่อ), แผงด้านหน้าSENSE1_RETURNการตรวจจับแจ็คพอร์ต 1
7AUD_5Vกำลังไฟ +5 VSENSE_SENDแจ็คตรวจจับความรู้สึกความต้านทาน multiplexed
8สำคัญไม่มีคีย์กายภาพสำคัญไม่มีคีย์กายภาพ
9FP_OUT_Lเสียงซ้าย, ออก (ระดับหูฟังระดับความสามารถ), แผงด้านหน้าPORT 2Lเสียงซ้ายพอร์ต 2
10FP_RETURN_Lเสียง, ซ้าย, กลับ (เมื่อแจ็คไม่เชื่อมต่อ), แผงด้านหน้าSENSE2_RETURNการตรวจจับแจ็คพอร์ต 2
  
 
เปรียบเทียบจุดเชื่อมต่อ frontpanel ของ Intel HD และ AC'97
 
 
 


     เสียงเป็นข้อมูลชนิดหนึ่งที่นำมาใช้งานด้านมัลติมีเดียต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยการนำไปใช้ประโยชน์ในการบันเทิง โดยใช้เสียงและลำโพงในการกระจายข้อมูลเป็นคลื่นความถี่ให้เราได้ยินและทำงานกับการ์ดเสียงระบบเสียงในรูปแบบต่างๆ จะได้คุณภาพเสียงที่ดี ในปัจจุบันระบบเสียงมีการพัฒนาไปในด้านคุณภาพเสียงที่ดีมีการกำหมดให้สมจริงเพื่อเป็นการเพิ่มอรรถรสในการฟัง จึงได้กำหนดมา๖รฐานของคุณภาพเสียงเพื่อให้ได้เสียงที่แตกต่างกันในระบบต่างๆ ที่ใช้เสียงเป็นองค์ประกอบของระบบ
      ระบบเสียง 3 มิติ เป็นระบบเสียงเซอร์ราวน์หรือว่าระบบเสียงรอบทิศทาง เป็นระบบเสียงที่ได้พัฒนาขึ้นจากใช้ลำโพงสองตัวในระบบสเตอริโอแบบเดิมเป้ฯการเพิ่มลำโพงในการกระจายเสียงให้รอบทิศทาง จะทำให้เสียงที่เราได้ยินมาได้หลายทิศทางเหมาะสำหรับการชมภาพยนตร์ได้ได้เสียงที่มาจากหลายทางมากขึ้น โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปโรงหนังก็มีระบบเสียงดีๆได้ที่บ้าน โดยจะมีขั้นต่างๆ ในการพัฒนาระบบของลำโพง
 

 
ระบบเสียงของลำโพง
ระบบเสียงของลำโพงเป็นการกำหนดจำนวนและขนาดของโพงพร้อมด้วยตำแหน่งที่ควรจัดวางจะทำให้ระบบเสียงที่กระจายได้ในตำแหน่งเดียวกับเสียงภาพยนตร์และภาพจะทำงานอย่างสอดคล้องกัน อย่างเช่นเสียงเดินมาจากทางด้านซ้ายเสียงลำโพงด้านซ้ายทั้งหมดจะทำงานให้สอดคล้องกันเมื่อเข้าใกล้ก็จะมีความเข้มข้นของเสียงที่มากขึ้นด้วย ระบบลำโพงนอกจากรอบทิศทางแล้วยังพัฒนาให้มีเสียงทุ้มทำให้เสียงที่ได้ยินแยกอิสระต่อกันเสียงจะทุ้มนุ่มมากขึ้น โดยทาง Dolby Lab เป็นผู้คิดค้นและพัฒนาระบบเสียงที่เราใช้กันทั่วโลกระบบเสียงที่ว่านี้จะถูกตราสัญลักษณ์ไว้ข้างกล่องสินค้าที่ใช้ระบบเสียงนี้ทุกชนิด ซึ่งจะมีการรองรับที่ต่างกัน
 แบบ 2.1 เป็นระบบเสียงที่มีลำโพง 3 ตัว โดยระบบเสียงรุ่นเดิมจะมีลำโพงแค่สองตัวในระบบสเตอริโอธรรมดาหากเป็น 2.1 จะมีลำโพงอีก 1 ตัว โดยจะดีกว่าระบบเดิมเพียงเล็กน้อยตรงที่ลำโพงที่ให้จะเป็นเสียงทุ้มทำให้เสียงฟังสบายและแยกความแตกต่างของเสียงได้ชัดเจนขึ้น
 

แบบ 4.1 จาก 2.1 เป็น 4.1 โดยจะมีการเพิ่มลำโพงด้านหลังอีก 2 ตัว เป็นลำโพงคู่หลังวางไว้ที่ข้างซ้ายและขวา ทำให้ได้รับเสียงระบบรอบทิศทางที่ดีขึ้น

แบบ 5.1 จะมีลำโพงตรงกลางด้านหน้าอีก 1 ตัว เป็นระบบที่ทำให้ได้รับชมและฟังเสียงภาพยนตร์อย่างเต็มรูปแบบ รองรับ Dolby Digital ด้วย

แบบ 6.1 เป็นการเพิ่มลำโพงด้านหลังตรงกลางอีกหนึ่งตัว รองรับระบบ Dolby Digital EX หรือ DTS ES แต่เป็นระบบที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมส่วนมากจะใช้ 7.1 ไปเลย

แบบ 7.1 เป็นระบบที่ได้พัฒนามาสูงที่สุดในปัจจุบัน จะมีการเพิ่มลำโพงสองตัว ตรงกลางซ้ายขวา โดยไม่มีลำโพงด้านหลังกลางเหมือนกัน 6.1 แต่ก็ต้องใช้งานร่วมกับการ์ดเสียงที่รองรับระบบนี้ด้วย ทำให้ได้รับเสียงจากภาพยนตร์ที่สมจริงมากที่สุด




รูปแบบเสียงต่างๆ
 
1. MONO
ระบบเสียง Mono คือระบบเสียงที่มีช่องทางเสียง (channel) เพียงช่องเดียวเท่านั้น สำหรับการฟังระบบเสียง Monoจะใช้ลำโพงเพียงตัวเดียว (หรือจะมีมากกว่า 1 ตัว แต่ทุกตัว จะให้เสียงอันเดียวกันทั้งหมด) 
 
2. STEREO
ระบบเสียง Stereo เป็นระบบเสียงที่ประกอบด้วยช่องทางเสียง ช่อง สำหรับการฟัง จะต้องใช้ลำโพง ตัว แต่ละตัว จะให้เสียงในแต่ละช่องทาง ระบบเสียง Stereo นี้ จุดฟัง ควรจะอยู่กึ่งกลางระหว่างลำโพง ตัว เพื่อให้ได้มิติของเสียง หากอยู่ใกล้ลำโพงตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป ความดังของลำโพง จะทำให้มิติของเสียงจากลำโพงอีกตัว หายไป สำหรับระบบ Stereo ในโรงหนัง จะประกอบด้วยช่องทางเสียง 3-4 ช่อง โดยมี ช่อง เป็นสัญญาณเสียงซ้ายขวา และมีสัญญาณเสียง effect อยู่ด้านหลัง (surround) และมีสัญญาณเสียงบทพูด (dialogue) อยู่ด้านหน้า เพื่อดึงความสนใจ ให้อยู่บริเวณจอภาพ แต่สำหรับระบบ Stereo บนแผ่นเสียง หรือบนเทป จะมีแค่ ช่องทาง เนื่องจากสื่อสามารถเก็บช่องทางเสียงได้แค่นั้น

3. QUADRAPHONIC STEREO
เป็นระบบเสียงที่ไม่ค่อยรู้จักกันนัก เป็นการ encode เสียง ช่องทาง โดยเสียง ช่องทางที่เพิ่มมาจากระบบStereo นั้น เป็นช่องทางเสียงสำหรับลำโพง ตัว ที่จะวางไว้ด้านหลัง อย่างไรก็ตาม ระบบเสียง Quadraphonic นี้ ก็ไม่สามารถหามาตรฐานสำหรับการผลิตได้ ทำให้ไม่มีใครผลิตสื่อในระบบเสียงนี้ออกมา

4. DOLBY STEREO
ระบบเสียงนี้ เริ่มต้นในปี 1976 โดยพัฒนามาจากระบบ Stereo สำหรับโรงหนัง ทำให้สามารถ "เพิ่ม" ช่องทางเสียงได้อีก ช่อง ร่วมเข้าไปกับช่องเสียง ช่องเดิม (คือเป็นการรวมช่องเสียง Surround และ Dialogue เข้าไปไว้ในระบบStereo) ในการฟังระบบเสียงนี้ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการถอดรหัสแยกเสียง ให้เป็น ช่องทาง สิ่งที่พัฒนาขึ้นใน Dolby Stereo คือ การรวมสัญญาณเสียง ช่องทาง ให้เหลือ ช่องทาง และการพัฒนาระบบ encode/decode สัญญาณเสียง รวมไปถึง เทคนิคในการลดเสียงรบกวน (Noise Reduction)

5. DOLBY SURROUND  
ระบบเสียงนี้ เริ่มต้นในปี 1982 ในฐานะของระบบเสียง ช่องทาง สำหรับการดูในบ้าน โดย ช่องทางประกอบด้วย หน้าซ้าย (Front Left) หน้าขวา (Front Right) และ Surround แม้ว่าช่องเสียง Surround จะใช้ลำโพง ตัวก็ตาม แต่สัญญาณเสียง Surround จะเป็นระบบ Mono ที่ความถี่ 100Hz-7,000Hz แทรกอยู่ในสัญญาณ FL และ FR การรับฟังระบบเสียง Dolby Surround จำเป็นต้องมีเครื่อง Three Channel Surround Processor โดยระบบเสียงนี้ จะมีเฉพาะในสื่อสำหรับเล่นตามบ้านเท่านั้น เช่น VHS

6. DOLBY SURROUND PRO-LOGIC 
ระบบนี้ คือระบบ Dolby Surround ที่เพิ่มเทคนิคที่เรียกว่า Pro-Logic เข้าไป ระบบนี้ ใช้กับเครื่อง Dolby Pro-Logic Decoder ทำให้สามารถแยกสัญญาณ analog 4 ช่องทาง ออกมาจากระบบ Dolby Stereo หรือ Dolby Surround ได้ นอกจากแยกช่องทางเสียงออกมาแล้ว เทคนิค Pro-Logic ยังได้เพิ่มความสามารถในการใส่ช่องเสียง Center และยังสามารถสร้างช่องทางเสียง Surround ให้กับเสียงต้นฉบับที่เป็น Stereo ธรรมดาได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม สัญญาณเสียง จากช่องsurround ยังคงเป็นสัญญาณระบบ Mono ที่ความถี่ 100Hz-7,000Hz เท่านั้น


7. DOLBY DIGITAL (AC-3)
ระบบเสียงนี้ เริ่มต้นในปี 1992 เป็นระบบเสียง Digital สำหรับโรงหนัง โดยระบบเสียงนี้ จะประกอบด้วยสัญญาณเสียง digital ทั้งหมด ช่องทางแยกขาดจากกัน มี ช่องทางสำหรับลำโพง ตัว และช่องที่ 6 สำหรับสัญญาณเสียงต่ำ เพื่อใช้กับ Sub-Woofer เราเรียกช่องทางเสียงนี้ว่า 5.1 Channel หรือ AC-3 (Audio Coding 3rd Generation) ข้อดีของระบบเสียงแบบ digital คือ จะใช้เนื้อที่ในการบันทึก น้อยกว่าระบบอื่น ๆ ทำให้สามารถเพิ่มช่องเสียงได้มากขึ้น (เช่น ช่องทางSurround จากเดิมเป็นแค่ Mono 100Hz-7,000Hz สามารถทำเป็น Hi-Fi Stereo ได้ และมีช่อง LFE Low Frequency Effectsที่ความถี่ 20Hz-120Hz เพิ่มขึ้นมา)

8. DOLBY DIGITAL SURROUND-EX
ระบบเสียง ที่พัฒนามาจาก Dolby Digital 5.1 เป็นการพัฒนาร่วมกัน ระหว่าง Dolby Laboratories และ Lucas filmเพิ่มช่องทางเสียง Surround โดยการทำ Matrixed Combination จากสัญญาณ Surround 2 ช่องทางเดิม ที่มีใน Dolby Digital 5.1 (หรือในทางปฏิบัติ ก็คือการนำเอาลำโพง surround-left และ surround-right มาวางตำแหน่งไว้ในด้านข้าง และเพิ่มลำโพง surround-back อีกตั้งแต่ ตัวขึ้นไป ไว้ทางด้านหลัง) ระบบเสียงนี้ ทำให้การเคลื่อนตัวของเสียง จากด้านหน้า มาด้านข้าง และอ้อมหลังผู้ฟัง มีการต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น ระบบเสียง Dolby Digital Surround-EX นี้ เมื่อเข้ามาเป็นระบบเสียงสำหรับฟังในบ้าน จะใช้ชื่อว่า THX Surround-EX และเนื่องจาก ระบบเสียง Dolby Digital Surround-EX นี้ ถอดสัญญาณsurround-back ที่ถูกฝังมาในสัญญาณ surround-left surround-right ในระบบเสียง Dolby Digital 5.1 ดังนั้น เครื่อง decoder ที่ไม่มีระบบ EX ก็จะเห็นระบบเสียงนี้ เป็น Dolby Digital 5.1 ธรรมดาเท่านั้น


        9. DIGITAL THEATER SYSTEMS (DTS)  
        ระบบเสียง DTS เริ่มเข้ามามีบทบาท เป็นระบบเสียงสำหรับโรงหนัง ในปี 1995 ประกอบด้วยสัญญาณเสียงแบบdigital 5.1ช่องทาง (เหมือน Dolby Digital) แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ การบีบอัดข้อมูลของสัญญาณ digital โดย Dolby Digitalจะบีบอัดสัญญาณเสียงที่สัดส่วนคงที่ คือ 12:1 แต่ DTS จะใช้การบีบอัดแบบไม่คงตัว ในสัดส่วนตั้งแต่ 1:1 ถึง 40:1 ทำให้คงรายละเอียดของเสียง ในส่วนที่มีเสียงมากๆ ได้ดีกว่า และไปลดขนาด ในช่วงที่ไม่ค่อยมีเสียงประกอบอะไร ทำให้เสียงที่อกมา มีความสะอาดกว่าในระบบ Dolby Digital อย่างไรก็ตาม ระบบเสียง DTS นี้ ไม่ได้รับความนิยมสำหรับการรับฟังในบ้าน เนื่องจาก ในทางปฏิบัตินั้น ข้อมูล digital ของสัญญาณเสียง DTS จะใช้เนื้อที่มากกว่าของระบบ Dolby Digitalทำให้ไม่สามารถจัดเก็บระบบเสียง analog รวมเข้าไปไว้ได้ (ในกรณีไม่มีเครื่อง DTS Decoder) แต่ปัญหานี้ก็มีเฉพาะในLaserdisc เท่านั้น ไม่มีผลกับ DVD ระบบเสียง DTS ยังแบ่งออกได้เป็นอีก ประเภท ได้แก่
-          DTS 5.1 Digital Surround - ประกอบด้วยสัญญาณคู่หน้า (FL/FR) คู่หลัง (RL/RR) กลาง (Center) และ Sub
-          DTS Stereo 2.0 - คล้าย ๆ กับ Dolby Surround คือเป็นสัญญาณเสียง Stereo ที่มีการผสม (matrixed) สัญญาณสำหรับ Center และ Surround เอาไว้ สามารถนำมาเล่นได้กับอุปกรณ์ Dolby Pro-Logic DTS Mono 1.0 -สัญญาณช่องเดียว เดี่ยว ๆ ไม่มีลุกเล่นอะไร
-          DTS-ES  ระบบเสียง DTS ที่ใช้เทคโนโลยีจาก Dolby Laboratories และมีพื้นฐานมาจากระบบเสียง Dolby Digital Surround-EX ระบบเสียง DTS-ES นี้ มีการเพิ่มช่องสัญญาณ rear surround (หรือ surround-back) สำหรับลำโพงตั้งแต่ ตัวขึ้นไป วางไว้ในตำแหน่งด้านหลัง และลำโพง surround-left surround-right จะย้ายมาอยู่ด้านข้างแทน (เหมือนกับระบบ Dolby Digital Surround-EX เป๊ะ) ช่องสัญญาณที่เพิ่มขึ้นมา จะถูก matrixed เข้ากับช่องสัญญาณ surround-left surround-right ทำให้สามารถ วางตำแหน่งเสียงรอบ ๆ ตัวผู้ฟังได้ถูกต้องขึ้น ในการรับฟังระบบเสียงนี้ จะต้องอาศัยเครื่อง DTS-ES Decoder ซึ่งหากไม่มี ก็ยังสามารถรับฟังได้กับเครื่อง DTS Decoder ซึ่งจะได้เสียง 5.1 ช่องเสียงเท่านั้น (สรุปก็คือ มันก็ลอก Dolby Digital Surround-EX มาทั้งดุ้น เพียงแต่การบีบอัดสัญญาณ ยังเป็นแบบ DTS เท่านั้น)
 
 
 


         10. SONY DYNAMIC DIGITAL SOUND (SDDS)
         ระบบเสียง SDDS นี้ สามารถรับฟังได้ เฉพาะกับโรงหนังเท่านั้น เนื่องจากระบบเสียงสำหรับฟังตามบ้าน ถูกครองโดย Dolby Digital 5.1 และ DTS ไปหมดแล้ว ระบบเสียง SDDS นี้ ประกอบด้วยสัญญาณเสียง ช่องเสียง (หรือ 7.1) โดยเน้นหนักที่ลำโพงชุดหน้า ในการสร้างมิติเสียง ตามที่ภาพปรากฏบนจอ สำหรับโรงหนังขนาดใหญ่ ประกอบด้วยช่องเสียง หน้า ช่อง (Left, Center-Left, Center, Center-Right, Right) และหลัง ช่อง (Surround-Left, Surround Right) กับอีก ช่องเสียงสำหรับ Sub-Woofer

   
 
      11. THX SOUND SYSTEM 
        สำหรับ THX นี้ ไม่ใช่ระบบเสียง (หลาย ๆ คนเข้าใจผิด) ระบบ THX นี้ พัฒนาโดย Lucas film ย่อมาจาก Tomlinson Holman’s experiment ใช้เพื่อเป็นการกำหนดมาตรฐาน สำหรับอุปกรณ์การดูหนัง ทั้งนี้ การเกิดขึ้นของระบบ THXเนื่องจาก เสียงที่ผู้ฟังรับฟังในโรงหนังต่าง ๆ กัน ที่ใช้อุปกรณ์โสตคนละชนิดกัน ทำให้เสียงที่ได้ออกมาแตกต่างกัน ซึ่งหากได้มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ ในแต่ละโรง จะทำให้ การรับชม/รับฟังภาพยนตร์ในแต่ละโรง มีความแตกต่างกันน้อยมาก และทำให้ผู้ฟัง ได้รับฟังเสียง ที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับมาที่สุด ตราบเท่าที่ อุปกรณ์ต่าง ๆ ยังได้รับการยอมรับตามมาตรฐาน THX THX นี้ ไม่ใช่ระบบเสียง เหมือนอย่าง Dolby Digital หรือ DTS แต่ THX เป็นตัวกลาง ที่อยู่ทั้งDolby Digital และ DTS เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผู้ฟัง ได้รับฟังเสียงที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะฟังเสียงในระบบไหน สำหรับอุปกรณ์ที่จะได้รับการยอมรับ ตามมาตรฐาน THX นั้น ต้องผ่านการทดสอบ ตั้งแต่ชนิดของวัสดุที่ใช้ ชนิดของหม้อแปลง สัญญาณเสียงรบกวนภายใน ดังนั้น อุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐาน THX จะถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง

 




ขอบคุณข้อมูลจาก 

http://www.thaiwebsocial.com/2015/08/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87/
http://tapaneeeduthai.blogspot.com/2013/09/blog-post.html
https://en.wikipedia.org/?title=AC%2797
https://en.wikipedia.org/wiki/Intel_High_Definition_Audio

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใบงานที่ 3 เรื่อง Power Supply

ใบงานที่ 6 Scanner